AWARDS • SET AWARDS

BEST SECURITES COMPANY AWARDS รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม ด้านการให้บริการหลักทรัพย์แก่นักลงทุนรายย่อย (Retail Investors)

บทความโดย: Admin

บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย ไม่ละเลยต่อการสะท้อนมุมมองของลูกค้าทั้งด้านบวกและด้านลบเพราะนั่นคือโอกาสในการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า แต่หากวันใดที่ลูกค้าไม่แนะนำแล้วนั่นคือวันที่ลูกค้าเปลี่ยนใจ ดังนั้น บริษัทใส่ใจลูกค้าอยู่เสมอ และได้นำความคิดเห็นของลูกค้าม

SET AWARDS 2021

BEST SECURITES COMPANY AWARDS

รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม

ด้านการให้บริการหลักทรัพย์แก่นักลงทุนรายย่อย (Retail Investors)

บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย


SET AWARDS 2021 BEST SECURITES COMPANY AWARDS รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม ด้านการให้บริการหลักทรัพย์แก่นักลงทุนรายย่อย (Retail Investors) บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย

ธิติ ตันติกุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย ด้วยผลงานการให้บริการแก่นักลงทุนที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมาส่งผลให้ บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม Best Securities Company Awards ด้านการให้บริการหลักทรัพย์แก่นักลงทุนรายย่อย (Retail Investors) และถือเป็นรางวัลที่ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่สอง

ธิติ ตันติกุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลว่า ในฐานะตัวแทนของบริษัท ขอขอบคุณ วารสารการเงินธนาคาร และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มอบรางวัลนี้ให้แก่บริษัทนับว่าเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจให้แก่ทีมงานทุกคน

“บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย จะพัฒนาวิธีการทำงานเพื่อให้นักลงทุนเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายมากขึ้นในทุกๆ ด้านของการให้บริการ ทั้งการจัดทำข้อมูลบทวิเคราะห์หุ้น ไปจนถึงการบริการอื่นๆ เพื่อให้นักลงทุนได้รับการบริการและข้อมูลที่ดีที่สุด”


กุญแจความสำเร็จ

กับรางวัล Retail Investors 2 ปีซ้อน

ธิติเล่าว่า ช่วงที่ผ่านมา บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทยมีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้จุดแข็งในการดำเนินงาน คือ การจัดทำข้อมูลหรือบทวิเคราะห์เพื่อรองรับนักลงทุนหน้าใหม่ ที่ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างจริงจังมากนัก โดยนำข้อมูลมาย่อยให้เข้าใจง่าย ผ่านช่องทางดิจิทัลของบริษัท เช่น การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) โดยกระจายผ่านช่องทางออนไลน์ ที่สามารถทำให้นักลงทุนนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์เพื่อประกอบการลงทุนได้ง่ายขึ้น 

นอกจากนี้ บริษัทยังมีบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ครอบคลุมหุ้นจำนวนถึง 170 ตัวถือว่ามากที่สุดในอุตสาหกรรม โดยหุ้นที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลผ่านนักวิเคราะห์ที่มีกว่า 20 คน อีกทั้งใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสารกับลูกค้า มีทั้งวิดีโอผ่านช่องทาง Facebook Live และช่องทาง Youtube โดยจัดรายการที่มอบความรู้ให้กับลูกค้าในแต่ละวัน ได้แก่ รายการ KS Forward, รายการ Stock 101และ 2 รายการที่เป็นน้องใหม่ในปี 2565 คือรายการ Stock Essential และ KS Tactical โดยเฉลี่ยยอดผู้เข้าชมมีจำนวน 15,000 ครั้งต่อวัน

พร้อมกันนี้ บริษัทยังมีโปรแกรม KS for Fund ที่จะให้ความรู้เรื่องกองทุนรวมว่าในแต่ละช่วงเวลานั้น อุตสาหกรรมไหนมีความโดดเด่น และยังมีรายการอื่นๆ อีกมากมาย ผ่านมุมมองของนักวิเคราะห์ในช่องทางของ หลักทรัพย์ กสิกรไทย ที่ครอบคลุมทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าสถาบัน 

นอกจากนั้น บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย ไม่ได้ละเลยต่อสิ่งที่ต้องปรับปรุง เช่น การนำความคิดเห็นของลูกค้ามาวิเคราะห์และปรับปรุงให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับมุมมองของลูกค้า และการที่ลูกค้าแสดงความคิดเห็นถึงการให้บริการถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสะท้อนว่าลูกค้ายังเชื่อมั่นในบริษัทอยู่ หากวันใดที่ลูกค้าไม่ติชม อาจเป็นไปได้ว่าลูกค้าเปลี่ยนใจไปอยู่ที่อื่นแล้ว บริษัทจึงนำความคิดเห็นเหล่านี้มาต่อยอดและพัฒนาให้ดีเพื่อสร้างความพึงพอใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น 

แผนการดำเนินงานในปี 2565 บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย มีแผนเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ที่ต่อยอดมาจาก KS Super Stock App ที่ออกมาเมื่อปี 2560 และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ธิติมองว่า เวลานี้ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมในการพัฒนาสิ่งใหม่เพื่อมอบให้แก่ลูกค้า 

โดยจะเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ ภายใต้ชื่อ KS OneApp ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เช่น การซื้อ-ขายกองทุนรวม หุ้นต่างประเทศ อีกทั้งมีฟังก์ชั่นภายในแอปฯ ที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยจะมีนักกลยุทธ์ของหลักทรัพย์ กสิกรไทย อัปเดตข้อมูลทุกวัน หรือหากมีสถานการณ์ที่น่าสนใจ จะมีการมอนิเตอร์ราคาหุ้นให้ลูกค้าอีกด้วย 

“KS One App จะเป็นบริการที่เข้ามาเติมเต็มจุดแข็งให้กับหลักทรัพย์ กสิกรไทย จากการนำแอปฯ ไปพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่ลูกค้าชอบในแอปฯเดิม และเพิ่มเติมข้อมูลอื่นๆ เพื่อเป็นการสื่อสารกับลูกค้าได้ตลอดทั้งวัน โดยคาดว่า KS One App ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ซึ่งแอปฯจะออกสู่ท้องตลาดเต็มรูปแบบในช่วงกลางปี 2565 อย่างแน่นอน”


แนวโน้มการลงทุนปี 65

ปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตาม

สำหรับทิศทางการลงทุนปี 2565นี้ ธิติมองว่า เป็นปีที่อาจเผชิญความผันผวนสูง ดังนั้นนักลงทุนควรระมัดระวังในการลงทุน โดยมีปัจจัยหลักที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อการลงทุน คือ แรงกดดันจากเงินเฟ้อของสหรัฐฯโดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เงินเฟ้อพุ่งขึ้น 7.5% เมื่อเทียบรายปีซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2525 อีกทั้งจากการประชุมนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) การลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิม ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทั้งหมด และทำให้เห็นการโยกย้ายเงินลงทุนของทั่วโลก

นอกจากนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 7 ครั้งในปีนี้ โดยปรับขึ้นครั้งละ 0.25% จากเดิมที่คาดว่าปรับขึ้น 5 ครั้ง ซึ่งหากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่คาดการณ์ นั่นหมายความว่าในปี 2565 เฟดจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 7 ครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม และจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ พุ่งแตะ 1.75-2.00% ในปลายปีนี้สำหรับในประเทศไทยคงมีการปรับตัวตามสถานการณ์ แต่ไม่ปรับตัวแรงเท่าฝั่งสหรัฐฯ 

“จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่ต้องระวังในการลงทุนของไทยในปี 2565 แม้ที่ผ่านมา ดอกเบี้ยต่ำ กำลังในการจ่ายดอกเบี้ยยังพอมีอยู่ หากดอกเบี้ยขึ้นภาระในการจ่ายดอกเบี้ยจะสูงขึ้นตาม สำหรับไทยมีโอกาสน้อยที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะตามฝั่งสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีจำนวน 5-7 ครั้ง แต่ต้องรอดูสถานการณ์ก่อนว่าฝั่งสหรัฐฯ จะเป็นไปในทิศทางไหน”

ธิติกล่าวต่อว่า ทางด้านคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงยังไม่พิจารณาเลือกใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกันเงินเฟ้อตามทิศทางธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก อีกทั้ง กนง.คงจะมีมุมมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงได้ในระยะข้างหน้า และหากเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นและธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ 

สำหรับกระแสเงินทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ที่ไหลเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีราว 6.45 หมื่นล้านบาท คาดว่ายังมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิแตะระดับ 1 แสนล้านในครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ติดตามทิศทางค่าเงินบาทเป็นหลัก โดยตลาดมองว่าปีนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.50 บาทต่อดอลลาร์