THE GURU • FINTECH&STARTUP

Digital Challenger Bank จะมาที่ประเทศไทยหรือไม่?

บทความโดย: แซม ตันสกุล

เราคงเคยได้ยินธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศที่ได้ทำการปรับตัวเป็น ดิจิทัลแบงค์กันมาสักพักแล้ว ทั้งนี้สาเหตุหลักก็เพื่อที่จะปรับการบริการให้เข้ากับผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เป็น Gen Y หรือ Gen Z แต่เราเองก็ยังรู้สึกว่าแบงค์ก็ยังเทอะทะ มีพนักงานจำนวนค่อนข้างเยอะ หรือกว่าแบงค์จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ยังไม่ทันใจ อีกทั้งกระบวนการสมัครก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คาดหวัง



           

             ดังนั้นเมื่อ 5 ปีที่แล้วที่ยุโรปและสหรัฐก็เลยเกิด Digital Challenger Bank ขึ้นมาอย่างมากมาย แล้ว Digital Challenger Bank คือใคร และเป็นคู่แข่งธนาคารพาณิชย์หรือไม่




            Digital Challenger Bank คือ fintech startup ที่เริ่มต้นขายแค่ผลิตภัณฑ์เดียวก่อน เช่น เป็น startup ที่ทำเรื่องขายกองทุนอย่างเดียว หรือ ออกบัตรเดบิต อย่างเดียว และเมื่อได้ลูกค้ามาใช้บริการเป็นจำนวนเยอะแล้ว ก็ทำการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่ม (พัฒนาเอง หรือการไปร่วมมือกับ startup อื่นๆ ที่เชี่ยวชาญแล้วมาเชื่อมตรงต่อเข้ามา) จนทำให้ fintech startup เจ้านั้นๆ มีบริการเฉกเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ โดยไม่ต้องมีสาขา และหาลูกค้าบนออนไลน์ทั้งหมดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ตำ่กว่า รวมทั้งยังมีพนักงานที่น้อยกว่า

            ยกตัวอย่างเช่น Monzo ถือว่าเป็น Digital Challenger Bank ที่โด่งดังจากอังกฤษ เปิดเพียง 5 ปี มีลูกค้ากว่า 5 ล้านราย โดยเริ่มต้นจากการเป็นแอปให้บริการ Prepaid Card จนต่อมาขยายบริการอื่นเช่น Current Account , Personal Loan , Business Banking และมีอื่นๆอีกมากมายที่เหมือนธนาคารพาณิชย์ใหญ่ในอังกฤษทั้งนี้มีพนักงานเพียงแค่ 1,400 คน (ถ้าเป็นธนาคารพาณิชย์ ด้วยลูกค้าที่เท่ากันต้องมีพนักงานเกือบ 10,000 คน)


            ทั้งนี้สิงคโปร์ได้ออกใบอนุญาต Digital Challenger Bank 4 ใบ ในปลายปี 2020 โดย 3 ใน 4 เป็น startup เช่น Grab , SEA (เจ้าของเดียวกับ Shopee) และ Alipay ซึ่งคาดว่าจะได้เริ่มให้บริการในต้นปีหน้า

            คำถามถัดไปหลายๆท่านคงอยากรู้ว่า ประเทศไทยจะมีการออกใบอนุญาต Digital Challenger Bank หรือไม่ ซึ่งตอนนี้จากข้อมูลล่าสุดอยู่ในช่วงการศึกษาข้อมูล แต่ก็ต้องบอกว่าด้วยตามทฤษฎีแล้ว startup ที่ประเทศสิงโปร์จะมาก่อนบ้านเรา 2-3 ปี ดังนั้นคงอีกไม่นานที่เราจะได้ใช้บริการ แต่ระหว่างนี้ ธนาคารพาณิชย์ในไทยก็ต้องรีบพัฒนาแพลทฟอร์มตัวเองขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น Kept ของ กรุงศรี Line BK และ Make ของ กสิกร หรือ TMRW ของ UOB



เกี่ยวกับนักเขียน

แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต กรรมการ บริษัท ฟินโนมีนา จำกัด กรรมการ บริษัท บานเนีย จำกัด กรรมการสมาคมฟินเทคประเทศไทย

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน