THE GURU • FINTECH&STARTUP

4 ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของโครงสร้างพื้นฐานไอทีสำหรับ Open Banking

บทความโดย: สุพรรณี อำนาจมงคล

ประโยชน์ของโครงสร้างพื้นฐาน Open Banking

จำนวนลูกค้าที่ต้องการบริการด้านการเงินแบบบูรณาการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริหารธนาคารเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการพัฒนา open banking ที่มากกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของ open banking ไม่ได้มีรูปแบบที่เหมือนกันหมด เนื่องจากความต้องการของสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของแต่ละแห่ง

โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบเดิมไม่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทีมงานต้องทำงานมากขึ้นเมื่อต้องการจะใช้โซลูชันใหม่ ๆ กับระบบเดิมที่ใช้อยู่ ซึ่งแต่ละระบบไม่ได้ทำงานร่วมกัน และจำเป็นต้องเชื่อมโยงและสื่อสารระบบที่จำเป็นเข้าหากัน กระบวนการนี้ทำให้เกิดจุดที่ใช้ในการผสานการทำงานหลายจุด และกลายเป็นคอขวดเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มปัญหาในภาพรวมที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีการแก้ไข (technical debt) แม้ว่าการทำเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย และขจัดอุปสรรคในการเข้าใช้ข้อมูล แต่มักจะกลายเป็นการสร้างความไร้ประสิทธิภาพขึ้นมาใหม่อีก

ธุรกิจด้านการธนาคารสมัยใหม่ไม่มีปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมนี้ ทั้งนี้ข้อมูลจาก Red Hat® e-book, Agile integration: The blueprint for enterprise architecture ระบุว่า "ความได้เปรียบของสตาร์ทอัพและดิสรัปเตอร์ คือ ความมีอิสระในการจัดลำดับการใช้โครงสร้างพื้นฐานไอที ทีมงาน แอปพลิเคชัน สถาปัตยกรรม ไปจนถึงกระบวนการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งาน ซึ่งไม่เพียงเป็นแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมเท่านั้น แต่ธุรกิจการธนาคารสมัยใหม่นี้ สามารถนำแนวคิดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เป็นจริงได้ เพราะไม่ต้องสะดุดและติดขัดจากข้อด้อยของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม จึงมีความคล่องตัวเต็มที่" 

แนวทางการทำงานที่ทันสมัยของ open banking ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและความรวดเร็วในการทำงานได้ตามต้องการลด technical debt สร้างสภาพแวดล้อมที่พร้อมปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั้งระยะสั้นและระยะยาว และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เร้ดแฮทนำเสนอข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์ด้าน open banking ด้วยการใช้สมรรถนะของ open application performance interferfaces (Open APIs) ดังนี้

การกำหนดกลยุทธ์และออกแบบ Open Banking

อันดับแรก คือการกำหนดขอบเขตของโปรเจกต์ ไม่ว่าจะใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบใดอยู่ก็ตาม กระบวนการนี้อาจรวมถึงการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือ การใช้งานที่กว้างขึ้น เช่น การทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก (third-party) และบริการโฮสติ้งต่าง ๆ  หากพิจารณาตอบคำถาม "เราทำเช่นนี้เพื่ออะไร" ว่า "เพื่อการเป็นธนาคารแห่งอนาคต" ก็นับเป็นคำตอบที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอที่จะวัดความสำเร็จได้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายพื้นฐานต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องการได้รับจากโปรเจกต์ open banking จึงจะสามารถกำหนดของเขตของโปรเจกต์ที่สามารถวัดผลได้ 

ธนาคารต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในเรื่องต่อไปนี้

  • เพิ่มอัตราการทำกำไรเมื่อเทียบกับยอดขาย (มาร์จิ้น)
  • เพิ่มลูกค้าและรักษาลูกค้าไว้ให้ได้ตามเป้าหมาย
  • เตรียมองค์กรให้พร้อมเพื่อรองรับความร่วมมือด้านนวัตกรรมต่าง ๆ
  • เพิ่มการรับรู้แบรนด์ในดิจิทัล มาร์เก็ตเพลสต่าง ๆ
  • เพิ่มประสิทธิภาพด้วยการลดความซับซ้อนของระบบดั้งเดิมและกระบวนการแบบแมนนวล
  • เพิ่มความเร็วในการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปของตลาด

เป้าหมายของโครงสร้างพื้นฐานของ open banking ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมทุกประเด็น แต่สิ่งสำคัญที่ต้องมีความชัดเจน คือ ต้องมีการพัฒนา API และสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่สอดคล้องกัน เพราะ APIs เป็นส่วนสำคัญของการเติบโตทางเทคโนโลยีภายในธนาคาร และต้องสร้างขึ้นบนสภาพแวดล้อมที่มีการจัดการและการทำงานร่วมกันอย่างดี เพื่อให้การลงทุนด้านนี้ทุกครั้งเป็นการลงทุนที่สามารถตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในปัจจุบัน และรองรับการเติบโตในอนาคต 

ธนาคารจำเป็นต้องผสานรวมการทำงานของเน็ตเวิร์กเดิมที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน รวมถึงต้องสามารถทำงานร่วมกับระบบของพันธมิตร เน็ตเวิร์กต่าง ๆ และบริการจากภายนอกอื่น ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม

ที่หน่วยต่างๆ สามารถทำงานร่วมกัน (modular environment) ได้มากขึ้น ซึ่งโซลูชันที่มีลักษณะเป็น Software-as-a-Service (SaaS) สามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้  ดังนั้นธนาคารต้องใช้ APIs ที่มีความละเอียดและมีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานร่วมกับ APIs อื่น ๆ ที่มีรายละเอียดงาน ความเฉพาะเจาะจง และการตั้งค่ามาอย่างดีแล้วจากแต่ละแห่ง ซึ่งแตกต่างกัน ทั้งนี้เมื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด APIs จะกลายเป็นส่วนประกอบที่ใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อเสนอของบริการที่มีอยู่ บริการเสริมต่าง ๆ และแม้แต่ผลิตภัณฑ์ใหม่

เช่น ธนาคารสามารถสร้าง open banking platform ที่เน้นด้าน self-service ซึ่งเป็นการนำตัวกลางต่าง ๆ ที่การทำงานแบบดั้งเดิมต้องใช้เพื่อเข้าถึงระบบต่าง ๆ ออกไป และด้วยความเป็นระบบเปิด แพลตฟอร์มนี้จึงมอบความโปร่งใสภายในกับเน็ตเวิร์กทั้งหมด และเป็นระบบที่เป็นหนึ่งเดียวที่รวมกระบวนการต่าง ๆ ที่มีคอมโพเนนท์เฉพาะทางที่หลากหลายไว้ด้วยกัน

ธนาคารสามารถรับรู้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าเพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่แชร์จากเน็ตเวิร์กทั้งหมดที่เชื่อมต่อด้วย APIs ไม่ว่าจะเป็นเน็ตเวิร์กของเทคโนโลยีดิสรัปเตอร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หรือซอฟต์แวร์โซลูชันของ third-party ซึ่งช่วยให้ธนาคารสร้างเครื่องมือและบริการต่าง ๆ ที่นำไปใช้กับนวัตกรรมแห่งอนาคตได้ ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี บริการ และเสริมความสามารถใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าลงได้อย่างมาก

ธนาคารที่ใช้ API network ที่สมบูรณ์ สามารถสร้าง open banking platform ที่เน้นการใช้ self-service ยกเลิกการใช้ตัวกลางต่าง ๆ ที่การทำงานแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องใช้เพื่อเข้าถึงระบบต่าง ๆ ทั้งนี้สถาปัตยกรรม open API ช่วยให้ธนาคารบริหารจัดการและควบคุมการเข้าถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ของธนาคาร เช่น บริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ เพราะเป็นระบบที่บูรณาการกระบวนการและคอมโพเนนท์เฉพาะทางต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน

บริการต่าง ๆ ขององค์กรที่รวมศูนย์ซึ่งมีความเปราะบางและดูแลรักษายาก จะต้องค่อย ๆ พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มแบบบูรณาการที่คล่องตัวและเป็นระบบเปิด โดยทีมงานด้านไอทีต้องจัดการกับความท้าทายทางเทคโนโลยีหลายประการ เช่น

  • การเพิ่มความคล่องตัวภายใน
  • การสร้างประสบการณ์ omnichannel ที่สอดคล้องกัน
  • การสร้างระบบนิเวศสำหรับลูกค้าหรือพันธมิตร
  • การผสานรวมคลาวด์แอปพลิเคชันทั้งแบบเนทีฟ, โมบายล์ และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT)
  • การใช้ข้อมูลและบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การเปิดใช้งานการบูรณาการ SaaS ในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดทั้งหมด 

4 ปัจจัยหลักในการประเมิน API ที่ทำให้ open banking ประสบความสำเร็จ 

เร้ดแฮทแนะนำปัจจัยสำคัญ 4 ประการในการบูรณาการ open API ให้ประสบความสำเร็จ โดยธนาคารสามารถกำหนดทิศทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มรายได้ให้มากที่สุด และยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า โดยใช้การตรวจสอบดังต่อไปนี้

        1. รายได้ - การใช้งาน API ที่ประสบความสำเร็จจะสร้างรายได้ใหม่ได้จากการเรียกเก็บเงินโดยตรงสำหรับการเข้าถึง APIs โครงสร้างค่าธรรมเนียมควรปรับตามข้อมูลและบริการที่นำเสนอแก่ลูกค้า และอัตราเรียกเก็บเงินภายในที่สัมพันธ์กับการใช้งานของ third-party

        2. นวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น - Open APIs ช่วยให้มีการนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้ ทำให้เกิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับวิธีใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มรายได้ การเปิดไปยังเน็ตเวิร์กที่อยู่ภายนอก สามารถช่วยให้การออกแบบคอมโพเนนท์ใหม่ ๆ ภายในคอมมิวนิตี้ขยายตัวขึ้น ความสามารถนี้ก่อให้เกิดแนวคิดที่สดใหม่ในคอมมิวนิตี้เพื่อสร้างฟังก์ชันการใช้งานเฉพาะทาง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการสื่อสารหรือการเก็บรักษาข้อมูล

        3. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพภายใน (Internal KPIs) - การใช้ข้อมูลที่ได้จาก APIs ช่วยให้สามารถวัดผลการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำเพิ่มเติมได้ เช่น การที่ APIs เป็นคอมโพเนนท์ที่ใช้ซ้ำได้จึงอาจส่งผลต่อเวลาในการออกแบบอินเทอร์เฟซผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลจาก logs ที่เก็บรูปแบบการใช้ API มาวิเคราะห์ เพื่อวัดความถี่ในการเรียกใช้ API หรือดูว่าแผนกต่าง ๆ เข้าใช้งาน API เดียวกันมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้คอนเทนเนอร์ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานของแพลตฟอร์ม API ช่วยให้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ได้อย่างอัติโนมัติภายในสภาพแวดล้อม API ที่เจาะจง ดังนั้นอัตราการใช้คอนเทนเนอร์จึงมักเกี่ยวข้องด้วย

        4. การเติบโตของระบบนิเวศ - Open APIs ที่ประสบความสำเร็จจะส่งผลต่อเน็ตเวิร์ก เช่น ทำให้จำนวนและการเข้าถึงของ influencers เพิ่มขึ้น แม้แต่ APIs ที่ได้กำหนดค่าไว้เรียบร้อยแล้ว 

ก็ควรปรับแต่งให้น้อยที่สุดเพื่อให้ใช้ได้กับสภาพแวดล้อมหลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างที่สุด ตอบสนองการทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา บนคลาวด์ทุกประเภท และบนดาต้าเซ็นเตอร์ใดก็ได้ ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งเดียวแล้วนำมาใช้ซ้ำได้

ทำไมต้องเร้ดแฮท

ธนาคารต่างมีกลยุทธ์หลากหลายในการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่อย่างน้อยที่สุดต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด กลยุทธ์ในการขยายขีดความสามารถเพื่อให้รองรับการใช้เทคโนโลยีจาก third-party หรือกลยุทธ์ในการเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่กว้างขวางมากขึ้นในฐานะ open banking platform 

อัตราการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผู้ให้บริการด้านการเงินดิจิทัลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ธนาคารที่ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมจะล้าหลังหลุดจากวงโคจรไป แนวทางที่ดีที่สุดที่องค์กรใช้ ควรรวมถึงการพิจารณาว่ามีแหล่งความสามารถใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้องค์กรคงความสามารถในการแข่งขันอยู่ที่ใดบ้าง และจะวางตำแหน่งองค์กรอย่างไรเพื่อปรับตัวตามให้ทัน เร้ดแฮทนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการประเมินกลยุทธ์และกระบวนการตัดสินใจที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อใช้กำหนดกลยุทธ์ open banking ที่มีประสิทธิภาพ

เกี่ยวกับนักเขียน

สุพรรณี อำนาจมงคล สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน