THE GURU • INVESTMENT

ทางออกเรื่องเงินทุนของ SMEs ควรเลือกอะไรดี 'สินเชื่อเพื่อธุรกิจ' หรือ 'หุ้นกู้ Crowdfunding'

บทความโดย: ณัทสุดา พุกกะณะสุต

ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ SMEs ใจสู้ทั้งหลาย พยามยามทำทุกวิถีทางเพื่อจะพยุงธุรกิจ มองหาเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ทางออกที่เป็นไปได้ก็คือการเพิ่มทุนจะด้วยการกู้เงินจากแหล่งสินเชื่อต่าง ๆ เช่นสินเชื่อบ้านแลกเงิน บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ฯลฯ ตัวอย่างที่ยกมาอาจเหมาะกับธุรกิจที่ต่างกัน แต่ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจมามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ไซส์ธุรกิจขนาดกลาง ต้องการเงินทุนสำหรับต่อยอดธุรกิจ การใช้ 'สินเชื่อเพื่อธุรกิจ' และ การออก'หุ้นกู้ Crowdfunding' ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

คำถามคือ ระหว่าง 'สินเชื่อเพื่อธุรกิจ' และ 'หุ้นกู้ Crowdfunding'อะไรน่าสนใจกว่ากัน?

สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

สินเชื่อที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่มีสินทรัพย์ในการลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือตามจำนวนที่กระทรวงกำหนด โดยมีสถาบันทางการเงินเป็นผู้ปล่อยกู้ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่เปิดกิจการมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับประเภทธุรกิจที่สามารถขอกู้สินเชื่อ ได้แก่ กิจการอุตสาหกรรม, กิจการค้าปลีก-ค้าส่ง, กิจการการบริการ และ กิจการอื่น ๆ ตามจำนวนที่กระทรวงกำหนด เช่น ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมตามหลักเกณฑ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีทั้งแบบที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ใช้ได้ทั้งเงินฝาก พันบัตร บ้าน หรือ ที่ดิน ซึ่งจะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่สินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ยังต้องหาผู้ค้ำประกันอยู่ดี

ข้อดีของสินเชื่อลักษณะนี้เห็นจะเป็นเรื่องของการได้วงเงินกู้ที่สูงและระยะเวลาผ่อนชำระยาว (ในกรณีที่ขอสินเชื่อแบบทีหลักทรัพย์ค้ำประกัน) แต่ต้องแลกด้วยระยะเวลาการพิจารณาอนุมัตที่กำหนดแน่ชัดไม่ได้ และอัตราดอกเบี้ยและวงเงินที่ได้ยังขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ค้ำประกันและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ โดยธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อจะเป็นคนกำหนดอัตราดอกเบี้ย

การออกหุ้นกู้ Crowdfunding

เดิมการออกหุ้นกู้นั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ที่ต้องการระดมทุนมาขยาย ต่อยอดธุรกิจ เฉพาะในปี 2564 นี้ มีบริษัทธุรกิจกระโดดเข้ามาออกหุ้นกู้สูงกว่า 8-8.5 แสนล้านบาทแล้ว  

แต่ด้วยเทคโนโลยีการเงิน ทำให้ปัจจุบัน SMEs สามารถออกหุ้นกู้ผ่านแพลทฟอร์ม Crowdfunding ได้ การออกหุ้นกู้จึงไม่จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ อีกต่อไป ข้อแตกต่างที่เห็นชัดเจนของหุ้นกู้  Crowdfunding หรือจะเรียกว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและเร็วกว่าคือ ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมือนการขอสินเชื่อจากสถานบันการเงิน แค่ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินก่อนประกาศขายภายใต้การประเมินความเสี่ยงและจัดระดับความเสี่ยงของ Crowdfunding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ก่อน  และยังไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่จำกัดประเภทธุรกิจ

แหล่งเงินทุนของหุ้นกู้มาจากการระดมทุนผ่านนักลงทุนหลายราย  ดังนั้นระยะเวลาการระดมทุนไปจนถึงรับเงินเพื่อดำเนินธุรกิจต่ออยู่ที่ 14 วัน ตามที่ Crowdfunding Portal กำหนด จุดที่ต้องนำไปพิจารณาชั่งน้ำหนักคือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับผู้ลงทุนอาจจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าการกู้เงินจากธนาคาร โดยอัตราดอกเบี้ยยังขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดโดยบริษัทผู้บริการ คราวฟันดิง โดยผู้ออกหุ้นกู้ต้องชำระค่าธรรมเนียมบริหารบัญชีให้ Crowdfunding Portal และชำระดอกเบี้ยให้นักลงทุน

อย่างไรก็ดี การหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม ไม่ว่าจะด้วย "สินเชื่อเพื่อธุรกิจ" หรือ "หุ้นกู้ Crowdfunding" ก็มีข้อแตกต่างที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องพิจารณาให้ดี เลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจ ประเมินระยะเวลาในการชำระดอกเบี้ยเพื่อประเมินความสามารถในการชำระคืน

ผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "หุ้นกู้ Crowdfunding" เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการหาแหล่งเงินทุน สามารถดูข้อมูลและลงทะเบียนได้ที่ https://www.investree.co.th/

เกี่ยวกับนักเขียน

ณัทสุดา พุกกะณะสุต Co-Founder & Chief Executive Officer มีประสบการณ์ทำงานด้านการเงิน มามากกว่า 18 ปี โดยดำรงตำแหน่ง Executive Director ที่ บริษัท โกลด์แมนแซคส์ อเชีย (สิงคโปร์) โดยก่อนหน้า นั้น คุณณัทสุดาทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 10 ปี

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน