THE GURU • FINTECH&STARTUP

Crowdfunding คราวด์ฟันดิง #12 Startup จะคิดมูลค่าบริษัทอย่างไร - Valuation Young Company

บทความโดย: ทศรรห์ บุรีชนะ

เราจะคำนวณมูลค่าบริษัทที่เพิ่งตั้งใหม่ได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีข้อมูลย้อนหลังทั้งรายได้ แถมยังไม่มีกำไร หรือในบางครั้งเป็น Startup ที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ไม่รู้ว่าจะหาไหนบริษัทที่ใกล้เคียงมาเปรียบเทียบได้ แล้วเราจะคำนวณกันอย่างไร 

นักลงทุน หรือนักวิเคราะห์จึงไม่ได้ลองที่คำนวณหามูลค่าของบริษัท แล้วไปเน้นเรื่องราวของบริษัท เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ 

อย่างที่เคยบอกกันว่า นักลงทุนตัดสินใจด้วยความรู้สึก แต่หากมีข้อมูลอื่นมาใช้ช่วยให้มั่นใจมากขึ้น ย่อมดีกว่าจริงมั้ยครับ

 

เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูง ราคาน้ำมันแพง มีผลกับมูลค่าของบริษัท (Valuation) หรือไม่ อย่างไร บทความนี้มาสรุปให้ได้อ่านกันครับ

สัปดาห์ที่แล้ว Federal Reserve (FED) ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 75 basis point (0.75%) ทำให้อัตราอ้างอิงดอกเบี้ยของสหรัฐปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 2.5% และยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นต่อไป ตามอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐเองที่ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ โดยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่ 9.1% ในเดือน มิถุนายน 2565 เป็นระดับที่สูงที่สุดนับแต่ปี พ.ศ. 2524 

 

นอกจากนี้ราคา Commodity ที่มีความผันผวน ยากต่อการคาดเดาอนาคต ทำให้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นให้กับบริษัทต่างๆ กันอย่างมากมาย ทั้งในฝั่งการผลิตและการบริโภค 

ปัจจัยเหล่านี้มีผลกับ มูลค่าของบริษัท (Valuation) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ แต่ก่อนอื่นผมขออนุญาตเล่าก่อนว่าการคิดหามูลค่าของบริษัทนั้น สามารถทำได้หลายวิธี แต่สามารถสรุปได้ว่า โดยหลักคิดแล้วสามารถแยกได้ออกเป็น 2 วิธีหลัก

1. ตามมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

การคำนวณมูลค่าแบบนี้เป็นการประเมินโดยจากกระแสเงินสด ซึ่งมองในมิติของจำนวนเงินและความสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีกำไรมาก แต่มีความไม่แน่นอนสูง จะได้รับการประเมินราคาที่ต่ำกว่าธุรกิจที่มีกำไรดี และมีความสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่นการมีห้องให้เช่า ท่านนักลงทุนจะยอมจ่ายเงินซื้อคอนโดที่มีผู้เช่าระยะยาว และได้ค่าเช่าดี มากกว่าที่จะยอมจ่ายเงินซื้อคอนโดที่ได้ค่าเช่าสูงมาก แต่มีผู้มาเช่าเป็นระยะ ที่ราคาสูงมากเป็นครั้งคราว แล้วปล่อยห้องให้ว่างใช่มั้ยครับ

ในการคำนวณด้วยวิธีการตามมูลค่าที่แท้จริงนี้ มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงต่างๆ (มีผลกับ Discounted rate ซึ่งขึ้นกับ Risk Free Rate และ Risk Premium) 

2. ตามการเปรียบเทียบสัมพัทธ์ (Relative Valuation)

การคำนวณตามการเปรียบเทียบสัมพัทธ์ เป็นการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับ Asset ที่มีความคล้ายและอยู่ในตลาดเดียวกัน เช่นหากท่านนักลงทุนต้องการซื้อห้องคอนโด ในข้อแรก สิ่งหนึ่งที่ต้องดู คือต้องดูราคาตลาดในขณะนั้นด้วย โดยการดูประกาศขายห้องที่อยู่ใกล้เคียง

การประเมินมูลค่าหุ้นที่จะทำการระดมทุน ก็เช่นเดียวกันครับ ต้องมีการดูตลาดว่า หุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้นมีการซื้อขายที่ราคาเท่าไหร่ หลายคนนิยมใช้วิธีการเปรียบเทียบค่า P/E ของอุตสาหกรรมด้วย

Business Model ใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด และการปิดประเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะที่จะมาคิดกันอีกครั้งว่า Business Model นั้น จะต้องมีการปรับรูปแบบกันอีกครั้งหรือไม่ ทั้งในด้าน Operation, Finance, People 

สรุป

สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว เช่นเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูง ราคาน้ำมันแพง อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน จึงมีผลกับการคำนวณมูลค่าของบริษัท แต่อย่างไร กลไกของตลาดมีความซับซ้อนมากกว่านี้มากครับ ทั้งความพึงพอใจ ความชอบ ประเภทของธุรกิจ เช่นหากเป็นธุรกิจน้ำดี ดำเนินการตามหลักการ SDG (Sustainable Development Goals) หรือ BCG (Bio-Circular-Green) หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) การที่บริษัทมีการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ข้างต้น จะทำให้ทางนักลงทุนมีความสบายใจที่จะลงทุนมากขึ้น และอาจทำให้มูลค่าบริษัทสูงกว่าบริษัทที่ไม่มีนโยบายด้านนี้ได้ครับ

นอกจากนี้ยังต้องดูโครงสร้างทางการเงินของบริษัท SME หรือ Startup ที่จะลงทุนว่ามีโครงสร้าง และกลยุทธ์ทางการเงินอย่างไรด้วย เช่นจำนวนหนี้, อัตราดอกเบี้ยคงตัว หรือลอยตัว, รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เหล่านี้จะถูกนำมาเป็นตัวแปร ในการคำนวณมูลค่าของบริษัทด้วยเช่นกันครับ

ดังนั้นขนาดผีเสื้อกระพือปีก ยังสะเทือนถึงดวงดาว ดังนั้นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา จึงมีผลกับสิ่งต่างๆ รวมทั้ง การพิจารณาการประเมินมูลค่าบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่านนักลงทุนเพียงทราบ  และไม่ละเลยที่จะวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับพอร์ตการลงทุน ผมเชื่อว่าจะสามารถลดผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน VUCA world ในขณะนี้ได้ครับ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าครับ โชคดี และรักษาสุขภาพ สวัสดีครับ


เกี่ยวกับนักเขียน

ทศรรห์ บุรีชนะ Chief Value Officer บริษัท สินวัฒนา คราวด์ฟันดิง คอร์ปอเรชั่น จำกัด นักการเงิน นักลงทุน ผู้เข้าใจกลไกการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มใหม่ๆให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน