THE GURU • FINTECH&STARTUP

Crowdfunding คราวด์ฟันดิง #10 Crowdfunding และการต้องอยู่กับโควิดไปอีกระยะ

บทความโดย: ทศรรห์ บุรีชนะ

            เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดของโลกใบนี้ และมีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เรียกได้ว่าไวรัสตัวนี้ ทำให้เราได้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า Disruption เป็นอย่างไร ได้ในช่วงเวลาที่สั้นมาก ธุรกิจต่างๆ มีทั้งธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างมากเช่นกลุ่ม IT การค้าขายออนไลน์ ต้นไม้แต่งสวน และมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบทางลบอย่างหนักเช่น การประกันภัย (เจอ จ่าย จบ), อุตสาหกรรมโรงแรม, ร้านอาหาร หรือการท่องเที่ยว 

            Crowdfunding สามารถช่วยให้อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด สามารถกลับมาดำเนินการได้ โดยกิจการที่จะกลับมาดำเนินการได้ ต้องมีการทำ 5R คือ 

            1.Relaunch

            2.Restart

            3.Rebuild 

            4.Reopen

            5.Reboot

            หลังจากที่เตรียมเงินทุนให้พร้อมแล้ว McKinsey ได้มีการศึกษากุญแจ 8 ดอก ที่ธุรกิจต้องพิจารณา ก่อนจะกลับมาดำเนินการได้ วันนี้ผมจะมาสรุปกุญแจทั้ง 8 ดอกมาให้อ่านครับ

 McKinsey: 8 keys for business restarting

1.สร้าง Relaunch map

            เตรียมแผนการเปิดใหม่ (Relaunch Map) ให้พร้อม โดยให้ศึกษา และพิจารณากันอีกครั้ง ในเรื่อง ลูกค้า, ผลิตภัณฑ์, ตำแหน่งร้าน, Segment เนื่องจากสิ่งต่างๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วทั้ง Value Chain เช่นบางธุรกิจอาจต้องเปลี่ยนจาก B2B เป็น B2C เป็นต้น

            โดยใน Relaunch Map ควรจะต้องมีแยกเป็น scenario ต่างๆ ด้วย และนำ scenario ต่างๆ มาใช้ทดสอบแผนการ restart จะทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ 

2.Restore trust with safety guarantee

            สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าการใช้บริการจะได้รับความปลอดภัยกับสุขภาพ อาทิเช่น

            -กำหนดเงื่อนไขในการใช้บริการที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัย เช่น การมีป้ายประกาศระดับความมีสุขอนามัย พนักงานได้รับการตรวจโควิดอย่างต่อเนื่องจริงจัง

            -สื่อสารสิ่งที่ทำหลังบ้านให้กับลูกค้าได้รับรู้ เช่น มีการปรับกระบวนการผลิตที่ลดการสัมผัสจากพนักงาน, พนักงานได้รับการตรวจสอบด้านสุขอนามัยเป็นอย่างดี และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 

3.ดูแลสุขภาพพนักงาน

            บริษัทที่กำลังจะเปิดให้มีการทำงานที่ออฟฟิศ ต้องมีกระบวนการการดูแลสุขอนามัยที่สอดคล้องกับกฎหมายด้านต่างๆ ของรัฐที่ออกมาใหม่ในช่วงนี้ เพื่อให้การทำงานที่ออฟฟิศมีความปลอดภัย หรืออาจปรับให้มีการทำงานแบบ Hybrid ที่อนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานได้จากภายนอกบริษัท เป็นบางวัน ซี่งนับว่าเป็นการดูแลสุขภาพของพนักงานไปในตัว

4.ตรวจสอบอุปสงค์ และอุปทานของสินค้า

            ในภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจเช่น ภาวะเงินเฟ้อ หรืออัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้อุปสงค์ และอุปทานของสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต ในบางครั้งอาจต้องเข้าไปหาลูกค้าเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ 

5.Reboot การปฏิบัติการ และห่วงโซ่อุปทาน

            พิจารณาว่า มีสิ่งที่ต้องใช้ ในการ Reboot เช่นอุปกรณ์ด้านสุขอนามัย สถานการณ์บริษัทคู่ค้า (ยังแข็งแรงหรือไม่) และให้ทำตัวเหมือนหอบังคับการบิน ที่มองจากมุมสูง ที่ทำให้สามารถมองเห็นความต้องการของลูกค้า ความเพียงพอของวัตถุดิบ รวมถึง Ecosystem 

6.พิจารณาด้าน IT กันใหม่

            หลังจากนี้ รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปจะทำให้ Chief Information Officer (CIO) หรือ Chief Technology Officer (CTO) ต้องมีงานเยอะขึ้น เนื่องจากต้องมีการปรับเปลี่ยนจากที่พนักงานทำงานแบบ work from home โดยจำเป็น เป็นการวางระบบใหม่ เพื่อสามารถสนับสนุนให้พนักงานทำงานแบบ work from anywhere, ระบบความปลอดภัย (Cybersecurity), การปรับกระบวนการด้านประสบการณ์ด้านดิจิทัลให้กับลูกค้า, อีกทั้งต้องพิจารณาเรื่องการทำ Digital Transformation กันอย่างจริงจัง ด้วยความความเข้าใจอย่างแท้จริง 

            CIO และ CTO ยังต้องเตรียมเก็บข้อมูลที่ได้ในช่วงโควิด ปิดประเทศในช่วงที่ผ่านมา เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจแบบมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน (Data Driven Decision Making) เพราะการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเก่าๆ ก่อนช่วงโควิด จะไม่สามารถนำมาให้ประกอบการตัดสินใจได้ อย่างแม่นยำในช่วงนี้

7.ขับเคลื่อนการ Restart อย่างระมัดระวัง

            สิ่งที่สำคัญคือต้องตัดสินใจให้เร็ว ทั้งในด้านพนักงาน (หากมีการติดเชื้อ), stabilize the operations, customer engagement และให้ลองทำ Stress Test กันอีกครั้งหากเกิดเหตุการณ์ที่คล้ายกันอีก

            นอกจากนี้ต้องพิจารณาการใช้ working capital อย่างระมัดระวัง ดู cash flow ในช่วงที่ต้องมีการ restart ว่าจะมีเพียงพอครอบคลุมในทุกกรณี หากสามารถทำได้ควรมีวงเงินกู้ หรือทำการกู้ผ่าน Crowdfunding ไว้บ้างเพราะ เพื่อมารองรับการใช้จ่ายระยะสั้นที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้

8.จัดการ Business Model ที่เกิดจากการรับมือโควิด ให้มีความยั่งยืน

            Business Model ใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด และการปิดประเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะที่จะมาคิดกันอีกครั้งว่า Business Model นั้น จะต้องมีการปรับรูปแบบกันอีกครั้งหรือไม่ ทั้งในด้าน Operation, Finance, People 



เกี่ยวกับนักเขียน

ทศรรห์ บุรีชนะ Chief Value Officer บริษัท สินวัฒนา คราวด์ฟันดิง คอร์ปอเรชั่น จำกัด นักการเงิน นักลงทุน ผู้เข้าใจกลไกการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มใหม่ๆให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน