WEALTH • GOLD

หลายประเทศเตรียมปลดล็อคดาวน์ สร้างแรงกดดันราคาทองคำ

สภาวะตลาดวันที่ 27 เมษายน 2020 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,711.97 - 1,728.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 26,250 บาทต่อบาททองคำ ปรับตัวลดลง 100 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 26,350 บาทต่อบาททองคำ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFJ20 อยู่ที่ 26,500 บาท ปรับตัวลดลง 10 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 26,510 บาท ด้านโกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์ส GOM20 อยู่ที่ 1,725.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับตัวลดลง 7.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 1,732.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 15.30. ของวันที่ 27/04/2020)


ด้านแนวโน้มวันที่ 28 เมษายน 2020 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพิ่มการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงและยืนยันที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยไม่มีขีดจำกัด เบื้องต้น BOJ ยืนยันที่จะเร่งการซื้อหุ้นกู้และตราสารพาณิชย์จนกว่า งบดุลการถือครองรวมกันของ BOJ ที่ระดับ 1.86 แสนล้านดอลลาร์ และ คงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% และ ชี้นำผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ราว 0% ซึ่ง BOJ มีมติผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แม้ว่าการตัดสินใจของ BOJ สอดคล้องกับคาดการณ์ในวงกว้าง แต่ราคาทองคำก็ได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ เมื่อแนวโน้มเหล่าธนคารกลางต่างๆ เตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงกดดันจากการฟื้นตัวขึ้นของตลาดหุ้น และ สินทรัพย์เสี่ยง เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศที่จะคลายมาตรการล็อคดาวน์ในหลายรัฐ เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ทั้งนี้ นายแอนดรูว์ คูโอโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กของสหรัฐกล่าวว่า รัฐนิวยอร์กอาจจะเริ่มเปิดการผลิตและการก่อสร้างอีกครั้งหลังวันที่ 15 พฤษภาคมในการผ่อนปรนมาตรการเข้มงวด อย่างไรก็ตาม แผนการคลายมาตรการล็อคดาวน์ในสหรัฐจะดำเนินการเป็นระยะ ขึ้นอยู่กับผู้ว่าการรัฐจะตัดสินใจ ทางด้านนายจูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า อิตาลีจะเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 4 พ.ค. เพื่อเริ่มเปิดเศรษฐกิจและให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามปกติอีกครั้ง ภาคการก่อสร้างและการผลิตจะเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่จะเปิดทำการอีกครั้ง ตามมาด้วยการเปิดภาคค้าปลีกและพิพิธภัณฑ์ในอีก 2 สัปดาห์ หากสหรัฐกลับสู่ภาวะปกติโดยไม่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบ 2 คาดว่าจะทำให้ความต้องการลงทุนตลาดหุ้น และ สินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น จนทองคำถูกลดความน่าสนใจลง ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวในแดนบวก ขานรับแนวโน้มหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวแกว่งตัวในกรอบ เนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากออกไปรอดูท่าทีอยู่นอกตลาดก่อนการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้ เบื้องต้นวายแอลจีประเมินว่าราคาทองคำไม่สามารถปรับตัวขึ้นเหนือโซน 1,739-1,747 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินว่าราคาทองคำจะขยับลงทดสอบแนวรับในโซน 1,711-1,705 ดอลลาร์ต่อออนซ์


กลยุทธ์การลงทุน ทางวายแอลจีมีมุมมองว่า แนะนำนักลงทุนให้เน้นไปที่ การเข้าซื้อเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ประเมินแนวรับไว้ที่ 1,711-1,705 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,692 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,739-1,747 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไร เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นยังคงมีแรงขายออกมาเช่นกัน นักลงทุนที่สะสมทองคำไว้อาจมีการขายทำกำไรบางส่วนออกมาบ้าง สำหรับการทำกำไร ให้ดูว่าราคาจะผ่านแนวต้านได้หรือไม่ ถ้าสามารถผ่านไปได้ให้แนะนำให้ถือต่อไป เพื่อไปขายทำกำไรที่แนวต้านถัดไป


ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ            1,705 (26,200บาท)             1,692 (26,000บาท)            1,678 (25,800บาท)           

แนวต้าน          1,747 (26,900บาท)             1,769 (27,200บาท)            1,788 (27,500บาท)            

*หมายเหตุ :  แนวรับแนวต้านราคาทองคำแท่ง (96.50%) เป็นราคาจากการ Convert ตามสูตรทางทฤษฏี ไม่ได้อ้างอิงจากราคาประกาศของสมาคมค้าทองคำ

 

GOLD FUTURES (GFJ20)

แนวรับ            1,705 (26,260บาท)             1,692 (26,060บาท)            1,678 (25,840บาท)           

แนวต้าน          1,747 (26,910บาท)             1,769 (27,250บาท)           1,788 (27,540บาท)            

 

GOLD ONLINE FUTURES (GOM20)

แนวรับ            1,709 ดอลลาร์ต่อออนซ์             1,696 ดอลลาร์ต่อออนซ์       1,682 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวต้าน          1,751 ดอลลาร์ต่อออนซ์            1,773 ดอลลาร์ต่อออนซ์       1,792 ดอลลาร์ต่อออนซ์

Related keywords:

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง