WEALTH • GOLD

อดีต ปัจจุบัน อนาคตของทองคำ ตอนที่ 1

การเคลื่อนของราคาทองคำทั้งดอลลาร์และเป็นราคาทองคำ รวมถึงค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2565 เรียกได้ว่า ราคา Gold Spot เป็นช่วงเวลาของการปรับลงโดนกดไปถึง 117 ดอลลาร์ (-6.42%) ส่วนทองคำแท่ง 96.5% ราคาสมาคมค้าทองปรับขึ้น 1,150 บาท(+4.02%) เนื่องจากค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้น 4.4 บาท(+13.66%) โดยการเคลื่อนไหวของราคาทองคำและค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกิดจาก US Dollar Index แข็งขึ้น 11 จุด(+11.52%) จากการเก็งกำไรของนักลงทุนที่คาดการณ์ดอกเบี้ยสหรัฐ

ส่วนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่อ่อน เพราะนักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกและท่องเที่ยวต่างชาติเป็นตัวหลัก แต่สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้ไทยที่มีการส่งออกเป็นหลักและการท่องเที่ยวมีโควิด-19 กดอยู่ ทำให้เศรษฐกิจโตไม่เต็มที่ ประกอบกับ US Dollar Index แข็ง


หลังจากที่นักลงทุนเรียนรู้อดีตของทองคำ CAF กำลังจะวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของราคาทองคำชี้วัดอยู่ที่ 6 ปัจจัย ได้แก่ US Dollar Index, นโยบายการเงินของนานาประเทศ, อุปสงค์ และอุปทานทองคำ, อัตราเงินเฟ้อ และวิกฤติการณ์ระดับโลก


1. US Dollar Index

เพราะราคาทองคำซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก หาก US Dollar Index ปรับลง (อ่อนค่า) ราคาทองคำจะมีราคาเพิ่มขึ้น หรือหาก US Dollar Index ปรับขึ้น (แข็งค่า) ราคาทองคำจะปรับลง ทั้งนี้ US Dollar Index คือ ดัชนีที่วัดมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในระบบตะกร้าเงินที่เป็นการเฉลี่ยน้ำหนักเงินสกุลต่างๆ 6 สกุลหลัก


ดังนั้น การเคลื่อนไหวของ US Dollar Index หลักจะเปลี่ยนตามเศรษฐกิจของสหรัฐฯ, ยูโรโซน, ญี่ปุ่น,อังกฤษ, แคนาดา, สวีเดน และสวิส ทำให้นักลงทุนที่อยากนักลงทุนทองคำต้องสนใจ US Dollar Index

               

2. นโยบายการเงินของนานาประเทศ


เรียกได้ว่า นักลงทุนจะหาสิ่งที่ปลอดภัยต่อเงินทุนและมีอัตราผลตอบแทนสูง ฉะนั้นแล้วหากมีธนาคารกลางของประเทศใดก็ตามที่มีความน่าเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสูง ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้เงินไหลเข้า และทำให้ค่าเงินประเทศนั้นแข็งค่า และเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำเช่นกัน

สมมติว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะส่งให้ US Dollar Index แข็งค่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯมีความน่าเชื่อมั่นสูง และผลตอบแทนที่สูงจะทำให้นักลงทุนเริ่มนำเงินเข้าสหรัฐฯในสินทรัพย์ที่ให้ผลต่อแทนสูง


3. อุปสงค์ และอุปทานทองคำ


ประเด็นอุปสงค์ของทองคำมาจาก 4 ความต้องการได้แก่ เครื่องประดับ(Jewellery), เทคโนโลยี(Technology), การลงทุน(Investment) และการสำรองทองคำของธนาคารแต่ละประเทศ (Central Banks and other institutions)

ส่วนอุปทานทองคำ 3 อย่างได้แก่ ผลผลิตจากเหมืองแร่ (Mine Production), การขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงของผู้ผลิต (Net Producer Hedging), เศษทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ (Recycled Gold)

ปัจจุบัน อุปสงค์ใน Q1/65 มีมากถึง 1,234 ตัน และอุปทานมีเพียง 1,156.6 ตัน เท่านั้น ทำให้ราคาทองคำในมุมของอุปสงค์ และอุปทานมีแนวโน้มเป็นบวกต่อทองคำ เพราะมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานนั่นเอง


4. อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

เรียกได้ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯมีความสัมพันธ์กับทองคำ เนื่องจากว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะกำหนดให้ US Dollar Index แข็งค่าหรืออ่อนค่า โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจะกระทบเชิงลงต่อ GDP ของสหรัฐฯ ขออธิบาย GDP เป็นตัวเลขที่ชี้วัด การบริโภค การลงทุนของเอกชนและรัฐ รวมถึงการส่งออกและนำเข้า หาก GDP ลดลงก็เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยลง และทำให้ US Dollar Index อ่อนค่า ราคาทองคำปรับขึ้น 


5. วิกฤติการณ์ระดับโลก


เพราะทุกครั้งที่นักลงทุนเจอวิกฤติการณ์ระดับโลกจะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรุนแรง ทำให้นักลงทุนต้องหาสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงได้ และหนึ่งในสินทรัพย์นั้นคือ “ทองคำ”

และตอนหน้าเราจะมาวิเคราะห์อนาคตของทองคำว่าจะโอกาสจะกลับมาแตะ 2,000 ดอลลาร์ หรือจะลงไปที่จุดต่ำสุดกันแน่ ต้องรอตอนหน้า เราใบ้ว่า นักลงทุนต้องจับตาประเด็น การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยุโรป และอังกฤษ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อของทั่วโลก และเศรษฐกิจทั่วโลกที่อาจถดถอย ล้วนเป็นปัจจัยกระทบทองคำทั้งสิ้น


ข้อมูลโดย บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

จากคอลัมน์ ตลาดทองคำ วารสารการเงินธนาคารฉบับเดือนสงหาคม 2565 ฉบับที่ 484