THE GURU • FUND FOCUS

ลงทุนเน้นเติบโตอย่างไรดี เมื่อแบงก์ชาติและแบงก์โลก พร้อมหน้าหั่น GDP ไทย

บทความโดย: ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

            ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเสนอแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฉบับอัปเดตจากเดือนมีนาคม พร้อม ๆ กับการลงมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% ต่อปี

            และในการนำเสนอแนวโน้มเศรษฐกิจครั้งดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP Growth) ปี 2564 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.8% จากเดิมที่เคยประเมินไว้ 3.0% ในเดือนมีนาคม 2564

            โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับลดประมาณการเกิดจากสภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ยังมีพัฒนาการด้านบวกอยู่บ้างในเรื่องการกระจายวัคซีนที่คืบหน้าและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

ประมาณการเศรษฐกิจโลก

            ในเดือนมิถุนายนเช่นเดียวกัน ธนาคารโลก (World Bank) ได้เผยแพร่ Global Economic Prospects หรือ “มุมมองเศรษฐกิจโลก” ฉบับล่าสุด โดยปรับลดประมาณ GDP Growth ในปี 2564 ของไทย ลงเหลือ 2.2% จากที่เคยประเมินไว้ต้นปีที่ 4.0%


            ในรายงานฉบับเดียวกันของธนาคารโลก ยังแสดงให้เห็นพัฒนาการของกลุ่มประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงบางประเทศที่น่าสนใจ ซึ่งในภาพรวมพบว่า ธนาคารโลกมีมุมมองดีขึ้นต่อเศรษฐกิจโลกปี 2564 โดยปรับตัวเลขขึ้นมาเป็น 5.6% จากเดิมที่คาดการณ์ 4.1แต่เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว กับ กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา พบว่าธนาคารโลกมีมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปในระดับที่ไม่เท่ากัน


(ตัวเลขต้นฉบับมีการปัดเศษก่อนนำเสนอ จึงลบไม่ลงตัว)

            จะเห็นว่าธนาคารโลกปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจพัฒนาแล้วสูงกว่าเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนามากพอสมควร แม้ตัวเลข GDP Growth ของกลุ่มหลังจะยังอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มแรกก็ตาม

กลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ

            ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่นำโด่งในการปรับเพิ่มประมาณการก็คือสหรัฐอเมริกา ซึ่งขยับขึ้นมาที่ระดับ 6.8% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ 3.5%

            อย่างไรก็ดี ส่วนของเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ก็ยังมีหลายประเทศที่ธนาคารโลกปรับประมาณการขึ้นมาอย่างน่าสนใจเช่นกัน รวมถึงบางประเทศที่แม้ธนาคารโลกจะไม่ได้ปรับตัวเลขเพิ่มขึ้น/เพิ่มขึ้นมาก แต่ก็ยังคงยืนยันอัตราการเติบโตในระดับที่โดดเด่น ได้แก่ อินเดีย จีนและเวียดนาม

 

กองทุนหุ้นต่างประเทศที่น่าสนใจตามแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564

1. สหรัฐอเมริกา

1.1 กองทุนเปิด ทหารไทย US500 Equity Index (TMBUS500) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน iShares Core S&P 500 ETF


 
กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.07
% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 1.00%

1.2 กองทุนเปิด แอสเซทพลัสเอสแอนด์พี 500 (ASP-S&P500) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน SPDR S&P500 ETF

 กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.07% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 0.25%

2. อินเดีย

2.1 กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด อินเดีย โกรท ฟันด์ (ABIG) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน Aberdeen Standard SICAV I- Indian Equity Fund


 
กองทุ
นนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.8725% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 1.50%

2.2 กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อินเดีย อควิตี้ เอฟไอเอฟ ชนิดสะสมมูลค่า (MS-INDIA-A) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน Manulife Global Fund-India Equity Fund

 กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.8725% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 1.50%

3. จีน

3.1 กองทุนเปิด ทหารไทย China Equity Index (TMBCHEQ) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน iShares FTSE A50 China Index ETF

 กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.997% ต่อปี โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end)

3.2 กองทุนเปิด กรุงศรีเกรทเทอร์ไชน่าอิควิตี้เฮดจ์ปันผล (KF-HCHINAD) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน FSSA Greater China Growth Fund


กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ
0.8025% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 1.50% 

4. เวียดนาม

4.1 กองทุนเปิด วรรณ เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล(ONE-VIETNAM-RA) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน JPMorgan Vietnam Opportunities Fund 55.6% Lumen Vietnam Fund 19.1% Lion Global Vietnam Fund 17.9%


กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ
1.605% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 1.605% 

4.2 กองทุนเปิด แอสเซทพลัส เวียดนาม โกรท ฟันด์ (ASP-VIET) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน Premia MSCI Vietnam ETF 24.2% JPMorgan Vietnam Opportunities Fund 18.6% VFMVN Diamond ETF 8.9%

กองทุนนี้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.61% ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end) 1.25%

แนะนำสัดส่วนกองทุนหุ้นตามระดับความเสี่ยง

            กรณีรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ เน้นความแน่นอนสูงสุดแนะนำลงทุนในกองทุนหุ้นไม่เกิน 10% ของมูลค่าพอร์ต  แต่หากรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง ต้องการความเติบโตแต่ยังจำกัดความผันผวน แนะนำลงทุนในกองทุนหุ้นไม่เกิน 30% และหากสามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับสูง เน้นโอกาสเติบโตสูงนะระยะยาว สามารถเน้นกองทุนหุ้นได้ในสัดส่วน 65%


แหล่งข้อมูล: bot.or.th, worldbank.org, tmbeastspring.com, assetfund.co.th, aberdeenstandard.com, manulife-asset.co.th, krungsriasset.com, one-asset.com

ผู้รวบรวมข้อมูล: รวีโรจน์ เจียมศิริกาญจน์ และนิติกร สุทธิมูล ผู้แนะนำการลงทุนรับอนุญาต บลป.เทรเชอริสต์

เกี่ยวกับนักเขียน

ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เทรเชอริสต์ ผู้ให้บริการ Treasurist.com ผู้ก่อตั้ง Thailand Investment Forum นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์และผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และ นักแปลอาสาของ TED.com

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน